วันจันทร์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

เทคโนโลยีสารสนเทศ 1

ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ


     เทคโนโลยีสารสนเทศ (information technology) หรือที่เรียกว่า ไอที มีผู้ให้คำนิยามไว้อย่างหลากหลาย เช่น หมายถึง ความรู้ในผลิตภัณฑ์หรือในกระบวนการดำเนินงานใด ๆ ที่อาศัยเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์ซอฟแวร์ คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ การติดต่อสื่อสาร การบริหาร และการดำเนินงาน รวมทั้งเพื่อการศึกษาและการเรียนรู้ ซึ่งจะส่งผลต่อความได้เปรียบทางด้านเศรษฐกิจการค้า และการพัฒนาด้านคุณภาพชีวิต และคุณภาพของประชาชนในสังคม (ฤทัยชนนี สิทธิชัย, 2540, หน้า 8)


     เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง แนวความคิด ระบบ วิธี เครื่องมือเครื่องใช้ในการจัดเก็บประมวลผล ค้นคืน และเผยแพร่สารสนเทศ ได้แก่ คอมพิวเตอร์ ระบบสื่อสารข้อมูล และโทรคมนาคม รวมทั้ง การประยุกต์ใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์สารสนเทศเหล่านั้นในงานสารสนเทศ หรืองานบริการด้านอื่น ๆ ซึ่งอาจแบ่งออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ (ดวงพร เจียมอัมพร, 2541, หน้า 15-17)
1. เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ (computer technology) หมายถึง เทคโนโลยีที่เกี่ยวกับการเปิดใช้บริการคอมพิวเตอร์ทั้งในไมโครคอมพิวเตอร์ มินิคอมพิวเตอร์ และเวิร์คสเตชั่น ในการรับข้อมูล การเก็บรวบรวมข้อมูล การบันทึกข้อมูลจากภายนอกและมีการแปลงเป็นสารสนเทศโดยผ่าน input devices ต่าง ๆ ได้แก่ แป้นพิมพ์ (keyboard) สแกนเนอร์ (scanner) เป็นต้น


2. เทคโนโลยีทางด้านการสื่อสารคมนาคม (telecommunication technology) ได้แก่ โทรศัพท์ธรรมดา โทรศัพท์เคลื่อนที่ดิจิตอล (digital mobile telephone) วิทยุติดตามตัว (pager) เป็นต้น


3. เทคโนโลยีระบบสื่อสาร (communication system technology) หมายถึงระบบการสื่อสาร และเครือข่ายที่เป็นส่วนเชื่อมในการแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็คทรอนิคส์ในรูปแบบข้อมูลดิจิตอล เช่นเครือข่ายโทรศัพท์ดิจิตอล ระบบสื่อสารเคเบิลใยแก้ว (fiber optic system) รวมถึง เครือข่ายคอมพิวเตอร์ระบบ WAN (wide area network) เช่น เครือข่าย Internet เป็นต้น


     ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปกันว่า เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือที่ทรงประสิทธิภาพในการพัฒนาประเทศ เป็นปัจจัยที่สำคัญที่ช่วยส่งเสริมสร้างความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจ สังคม ตลอดจนคุณภาพชีวิตของประชาชน ทั้งนี้เพราะเทคโนโลยีสารสนเทศจะช่วยทำให้มนุษย์สามารถมองเห็นโลกที่อยู่รอบตัวได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูล และทำให้มนุษย์เข้าใจในข้อมูลเหล่านั้น จึงช่วยส่งผลให้มนุษย์สามารถสร้างสรรค์วิธีในการแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นได้ รวมถึงสามารถจัดการและควบคุมชีวิตสภาพแวดล้อมและงานของตัวเอง หรือแม้แต่สังคมและเศรษฐกิจของโลกได้


     เทคโนโลยีสารสนเทศในประเทศไทยนั้น กล่าวได้ว่า ในปัจจุบันประเทศไทยเองก็ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญและศักยภาพของเทคโนโลยีสารสนเทศมากขึ้น มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้เป็นกุญแจไปสู่การพัฒนาในด้านต่าง ๆ เช่น การศึกษา สาธารณสุข สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ ตลอดจนการบริหารงานของรัฐ ดังตัวอย่างต่อไปนี้ (ธนัสถ์ เกษมไชยานันท์, 2544, หน้า 13-15)


ด้านการศึกษา
1. การเปิดใช้บริงานคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer-Aided Instruction--CAI) เป็นการเปิดใช้งานคอมพิวเตอร์เป็นสื่อในการสอนและเรียนรู้
2. การสอนทางไกลผ่านดาวเทียม ซึ่งช่วยยกระดับการศึกษาของพลเมือง โดยการกระจายความรู้ไปยังชนบทที่ห่างไกล ทำให้ประชาชนในชนบทได้รับความรู้มากขึ้นกว่าเดิม
3. การสอนทางไกลระบบ video teleconference เป็นการเรียนการสอนโดยใช้วิธีการสื่อสารสองทาง ผู้สอนและผู้เรียนอยู่ห่างไกลกันแต่สามารถถามตอบกันได้ทันที
4. การจัดทำสารานุกรม หนังสือหรือฐานข้อมูลทางการศึกษา โดยใช้มัลติมีเดียหรือสือประสมที่สามารถแสดงได้ทั้งภาพ ภาพเคลื่อนไหว เสียงและข้อมูล
5. การนำเทคโนโลยีฐานข้อมูลมาใช้ในงานห้องสมุดหรือศูนย์ข้อมูล เพื่อเก็บข้อมูลเกี่ยวกับเอกสาร บทความ รายงาน หนังสือ ฯลฯ ซึ่งช่วยอำนวยความสะดวกในการค้นหาข้อมูลต่าง ๆ


ด้านการสาธารณสุข
1. เกิดทางหลวงสารสนเทศด้านการแพทย์และสาธารณสุข (health information highway) ซึ่งเป็นเส้นทางติดต่อของบุคคล ข้อมูล ฐานข้อมูล และกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับแพทย์และสาธารณสุข ดังนั้น ผู้ป่วยจะสามารถใช้คอมพิวเตอร์เพื่อติดต่อไปยังแพทย์เพื่อสอบถามหรือขอคำปรึกษา สอบถามข้อมูลเกี่ยวกับยา บริษัทผู้ผลิตยาหรือบริษัทประกันสุขภาพได้ทันที
2. การติดตั้งระบบโทรเวชหรือการแพทย์ทางไกลผ่านดาวเทียม (telemedicine) ซึ่งช่วยให้นายแพทย์ในชนบทสามารถขอความเห็นจากผู้เชี่ยวชาญที่อยู่ในกรุงเทพมหานคร หรือในศูนย์ให้คำปรึกษาอื่น ๆ สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลของคนไข้ระหว่างกันและกันทั้งทางด้านภาพ เช่น X-Ray และเสียงสัญญาณต่าง ๆ ที่เกิดจากเครื่องมือทางการแพทย์ รวมไปถึงการประชุมปรึกษาหารือกันโดยไม่ต้องเดินทางไกล ซึ่งนับเป็นการเปิดใช้บริการเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างเต็มรูปแบบ คือ ทั้งเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีการโทรคมนาคม
3. การนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในโรงพยาบาล เพื่อบันทึกข้อมูลผู้ป่วย ดำเนินการตรวจรักษา จ่ายยา และคิดเงินค่ารักษาพยาบาล


ด้านสิ่งแวดล้อม
     เทคโนโลยีสารสนเทศจะช่วยในด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้น เช่นการเปิดใช้บริการระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ (geographic information system) ของกระทรวง วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม เป็นระบบฐานข้อมูลทรัพยากรธรรมชาติสำหรับการวางแผนด้านสิ่งแวดล้อมในระดับนโยบาย


ด้านเศรษฐกิจ
1. ด้านการผลิต โดยการเปิดใช้งานหุ่นยนต์ในการผลิต ใช้คอมพิวเตอร์ควบคุมเครื่องจักรและออกแบบผลิตภัณฑ์ ทำให้เกิดผลิตภัณฑ์แปลกใหม่และสวยงามมากขึ้น รวมทั้งมีคุณภาพและมาตรฐานที่ดีขึ้น
2. ด้านการเงิน โดยการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในงานธนาคาร ทำให้เกิดระบบออนไลน์ต่างสาขาและระบเงินด่วน หรือ ATM
3. ด้านธุรกิจ โดยการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในงานด้านสำนักงานอัตโนมัติงานบัญชี ซึ่งทำให้การดำเนินธุรกิจเป็นไปโดยสะดวกมากขึ้น จึงทำให้สามารถตัดสินใจในด้านที่เกี่ยวข้องกับการเงิน การขยายตัว หรือจำหน่ายผลิตภัณฑ์ได้อย่างถูกต้องและรวดเร็วมากขึ้น และส่งผลให้บริษัทที่รู้จักนำเทคโนโลยีสารสนเทศไปใช้เพิ่มกำไรมากขึ้น








พัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศ

             ในเอกสารการวิจัยของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ  กล่าวถึงคุณสมบัติของเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทำให้เกิดการแพร่กระจายของการใช้อุปกรณ์  เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน  ซึ่งประกอบด้วยคุณสมบัติต่างๆดังนี้
             -การรวมตัวกันของเทคโนโลยี(Convergence)  เทคดนโลยีสารสนเทศเป็นการรวมตัวกันของเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์  การสื่อสาร รวมถึงระบบเทคโนโลยีอื่นๆ เช่น การกระจายเสียงเข้าไว้ด้วยกัน  ทำให้สามารถรับส่งสัญญาณ โดยเฉพาะข้อมูลที่อยู่ในรูปของสื่อแบบผสม  ที่ประกอบด้วยภาพ เสียงและข้อความต่างๆได้อย่างรวดเร็ว สมบูรณ์และสามารถส่งได้ปริมาณมาก  การเผยแพร่ข้อมูลต่างๆทำได้อย่างทั่วถึงกันมากขึ้น  โดยเฉพาะการเผยแพร่ยุคไร้พรมแดน
             - ต้นทุนที่ถูกลง(Cost reduction) เทคโนโลยีมีคุณสมบัติทำให้ราคาและการเป็นเจ้าของ  อุปกรณ์เทคโนโลยีถูกลง ทั้งในส่วนของอัตราค่าบริการสื่อโทรคมนาคม เช่น  ค่าโทรศัพท์  ค่าบริการอินเทอร์เน็ต  ค่าเช่าสัญญาณเครือข่าย    รวมถึงราคาของเครื่องคอมพิวเตอร์   มีแน้มโน้มถูกลงเรื่อยๆ
             - การพัฒนาอุปกรณ์ที่เล็กลง(Miniaturization)  อุปกรณ์เทททททคโนโลยีสารสนเทศหลากหลายประเภท  รวมทั้งเครื่องคอมพิวเตอร์และโทรศัพท์ได้รับการพัฒนา  ให้มีขนาดเล็กลงกว่าแต่เดิมมาก  ด้วยวิวัฒนาการของไมโครชิพ  ทำให้สะดวกต่อการใช้งานมากยิ่งขึ้น
             - การประมวลผลที่ดีขึ้น(Processing  Power)  โดยอาศัยพัฒนาการของผู้ผลิตหน่วยประมวลผลกลางหรือพีซียูที่ทำงานเร็ซฃวขึ้นกว่าเดิม  รวมถึงการสร้างโปรแกรมเพื่อตอบสนองการทำงานของผู้ใช้ที่มีประสิทธืภาพดียิ่งขึ้น
             - การใช้งานทีง่าย(User  Friendliness)  การพัฒนาโปรแกรมในปัจจุบัน  มีการออกแบบส่วนประสานงานกับผู้ใช้เพื่อช่วยเหลือ  และสนับสนุนการทำงานให้ง่ายยิ่งขึ้น  โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับคนที่ไม่คุ้นเคยเรื่องเทคโนโลยีมากนัก  หรือที่เรียกว่า  user-friendliness  นั่นเอง
             - การเปลี่ยนอะตอมเป็นบิต(Bits versus  Atoms) ทิศทางของความนิยมและการกระจายของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างรวดเร็ว  ผ่านการใช้งานโดยเครือข่ายอินเทอร์เน็ต  นับได้ว่าเป็นตัวอย่างที่ชัดเจนของการหันเหกิจกรรมที่ใช้ "อะตอม" เช่นการส่งเอกสารที่เป็นกระดาษ  ไปสู่การใช้"บิต"มากยิ่งขึ้น  ปัจจุบันจะเห็นว่าหลายองค์กรปรับเปลี่ยนการใช้งาน  ที่มุ่งเน้นสู่สำนักงานแบบไร้กระดาษ(paperless  office) กันบ้างแล้ว
             - สื่อผสม(Multimidia)  เทคโนโลยีสารสนเทศสามารถเผยแพร่สารสนเทศ  ที่เป็นแบบสื่อผสมมากขึ้น  ประกอบด้วยสา(รสนเทศที่อยู่ในรูปแบบตัวอักษร  ภาพกราฟฟิก  เสียง ภาพนิ่ง รวมถึงภาพเคลื่อนไหวต่างๆเข้าด้วยกัน
             - เวลาและภูมิศาสตร์ (Time S Distance)  วิวัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศทำให้มนุษย์สามารถเอาชนะเงื่อนไขด้าน"เวลา" และ"ภูมิศาสตร์"ได้เป็นอย่างมาก เช่น  การประชุมทางไกล สำหรับองค์การที่มีขนาดใหญ่และมีสาขาอยู่ทั่วประเทศ  หากต้องการจัดประชุมโดยให้ผู้บริหารทุกสาขาเดินทางมายังสำนักงานใหญพร้อมกัน อาจทำได้ไม่สะดวกหรือจัดเวลาไม่ตรงกัน การประชุมแบบทางไกลสามารถเข้ามาช่วยแก้ปัญหานี้ได้  หรือการใช้รับสัญญาณดาวเทียม  เพื่อถ่ายทอดสัญญาณรายการเพื่อการศึกษาให้กับโรงเรียนชนบทที่ห่างไกล(tele-education) โดยที่นักเรียนไม่จำเป็นต้องเข้ามาแสวงความรุ้ในเมืองใหญ่  ก็สามารถได้แหล่งความรู้ที่เหมือนๆกัน  เป็นการลดปัญหาในเรื่องภูมิศาสตร์