วันพุธที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2554

เทคโนโลยีสารสนเทศ 5

ข่ายงานสื่อสารข้อมูล



1.1 เครือข่ายคอมพิวเตอร์
        เครือข่าย (network) ในทางสื่อสารโทรคมนาคมมีหลายชนิดด้วยกันซึ่งเครือข่ายแต่ละชนิดก็จะมีคุณสมบัติที่แตกต่างกันในส่วนต่อไปนี้จะได้กล่าวถึงพื้นฐานของเครือข่ายคอมพิวเตอร์

        1.1.1 เครือข่ายคอมพิวเตอร์คืออะไร
         เครือข่ายคอมพิวเตอร์ คือการต่อคอมพิวเตอร์หลายตัวให้ถึงกันโดยผ่านตัวกลางที่เรียกว่า media และใช้โปรแกรมจัดการ เรียกว่า Network Operating System (NOS)   เป็นตัวควบคุมการรับส่งข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์แต่ละตัว

        1.1.2 องค์ประกอบของเครือข่าย
         องค์ประกอบพื้นฐานของ เครือข่าย มีดังนี้
            1. สิ่งที่ให้บริการเครือข่าย (service provider)
            2. สิ่งที่ใช้บริการเครือข่าย (service user)
            3.ตัวกลางที่ทำให้ device สามารถสื่อสารกันได้ (communication facilitators)

        1.1.3 server provide service
         เป็นที่รู้จักกันมานานแล้วว่า ผู้ให้บริการบนเครือข่าย มักจะถูกเรียกว่า server ขึ้นอยู่กับว่า server ตัวนั้นให้บริการอะไรถ้า  server  นั้นให้บริการ  file  จะถูกเรียกว่า  file server หรือ  server นั้น ให้บริการด้านงานพิมพ์ก็จะถูกเรียกว่า printer server ดังนั้นการให้บริการพื้นฐานของเครือข่าย จึงมี 3 บริการคือ
            1.ให้บริการการใช้งาน files ร่วมกัน (sharing access to file)
            2.ให้บริการการใช้งาน printer ร่วมกัน
            3.ให้บริการการใช้งาน device อื่นๆ ร่วมกัน เช่น MODEM, FAX ก็เรียกว่า FAX service
         peer  to  peer  network เป็นการ  share   file  และ printer สามารถทำได้บนเครือข่ายขนาดเล็กที่เรียกว่า peer to peer ซึ่งเครือข่ายแบบนี้สามารถที่จะ  share  hard  disk  และ printer ของ  device ทุกตัวที่ต่อถึงกันแต่ เครือข่ายแบบนี้ก็มีข้อเสีย  คือ   ไม่มีตัวกลางสำหรับเก็บข้อมูล  user  และ ระบบ security dedicate server เป็น centralized server ทำหน้าที่ให้บริการ file หรือ printer โดยเฉพาะ

         1.1.4 CLIENT USE SERVICE
          client แปลว่าการร้องขอ  client เป็นตัวขอใช้บริการ file และ printer จาก server  ซึ่งโดยปกติ client จะเป็น computer ที่สามารถต่อเชื่อมเข้าสู่เครือข่ายได้และการใช้งานคอมพิวเตอร์บนเครือข่ายที่มีตัวร้องขอใช้บริการและตัวให้บริการเราจึงเรียกระบบนี้ว่า client/server computing


1.2 ประเภทของเครือข่าย

         เครือข่ายแบ่งตามระยะทางของการติดต่อ แบ่งออกได้ดังต่อไปนี้

        1.2.1 เครือข่ายท้องถิ่น (Local Area Network: LAN)
         เป็นเครือข่ายที่ใช้กันอยู่ในบริเวณไม่กว้างนัก อาจใช้อยู่ภายในอาคารเดียวกันหรืออาคารที่อยู่ใกล้กัน เช่น ภายในมหาวิทยาลัย ภายในอาคารสำนักงานในคลังสินค้า หรือในโรงงาน เป็นต้น การส่งข้อมูลทำได้ ด้วยความ เร็วสูงและมีข้อผิดพลาดน้อย   LAN  จึงออกแบบมาเพื่อช่วยลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพในการ   ใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ ร่วมกัน

        1.2.2 เครือข่ายระยะไกล (Wide Area Network: WAN)
         เครือข่ายระยะไกล หรือ internetworking  เป็นเครือข่ายที่ติดตั้งใช้งานอยู่ในบริเวณกว้าง เช่น เครือข่ายที่ติดตั้งไปยังต่างจังหวัด , ต่างประเทศ และทั่วโลก

        1.2.3 ข้อเปรียบเทียบ client/server computing และ terminal/host computing
         ในสมัยก่อนที่มีการใช้งานเครือข่ายแบบ  terminal/host computing  ตัว terminal จะเป็นตัวรับ input จาก user และแสดงผลให้แก่ user แต่เพียงเท่านั้น ไม่มีการคำนวณหรือ  process  อื่น ๆ บน terminal  เลยการคำนวณ และการ process ต่างๆ ที่จะทำบน central mainframe ทั้งหมด
        - ยุคสมัยของ client/server   computing   ในตัว   client   จะมีความสามารถพอที่จะทำการคำนวณและ process  หรือ run application ได้บนตัว   client   จึงเป็นการแบ่งเบาภาระไป และไม่ทำให้งานไปหนักอยู่กับคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่ง
        - client ถ้าใน netware จะเรียกว่า work station

        1.2.4 Communication media interconnect server and client
         ตัวกลางที่ทำหน้าที่เชื่อมต่อระหว่าง server และ client ให้เกิดการสื่อสารถึงกันได้เรียกว่า medium หรือ media ตัวอย่างของ medium ก็ได้แก่ copper cable, fiber optic cable, micro wave link, หรือ satellite link เป็นต้น

 1.3.1 NOS คืออะไร
        NOS คือ software ที่ run อยู่บนเครือข่าย เพื่อควบคุมการทำงานของ device ต่างๆ บนเครือข่ายซึ่ง NOS ที่ดีต้องมีความสามารถในการให้บริการ files และ printers แล้วยังต้องสามารถให้บริการ user ได้หลายๆ คนในเวลาเดียวกันด้วย (multi tasking, multi user) นอกจากนั้น NOS ยังต้องให้บริการด้านความปลอดภัยของข้อมูลภายในเครือข่ายได้ด้วย ตัวอย่างของ NOS เช่น windows NT server, NOVELL netware, windows XP, windows 2000 เป็นต้น

                1.3.1.1 Other server service
                 การบริการอื่นๆ ของ server อาจแบ่งออกได้เป็น 4 ประเภท คือ
                      1. mail server ทำหน้าที่ให้ user สามารถ เปลี่ยน (ส่ง และ รับ) electronic mail ระหว่างกันได้
                      2. MODEM server ทำให้ user สามารถใช้ MODEM ส่วนกลางร่วมกันได้โดยไม่ต้องซื้อ MODEM หลาย ๆ ตัวสำหรับหลาย user
                      3. FAX server ทำให้ user สามารถส่ง FAX ได้จาก application โดยไม่ต้องพิมพ์ออกมาให้สิ้นเปลืองกระดาษ และใช้ FAX ส่วนร่วมเพื่อประหยัดงบประมาณ
                      4. gateway server ทำหน้าที่ communicate กับ main frame หรือ mini computer หรือเครือข่ายภายในอินเตอร์เนทเป็นต้น

        1.3.2 รูปแบบอ้างอิง OSI (OSI refference model) Open System Interconnection (OSI)                 เป็น MODEL ที่พัฒนาขึ้นมาโดย International Standard Organization (ISO) OSI เป็นโครงสร้างที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย สำหรับเปรียบเทียบเครือข่าย ทางทฤษฎี OSI model แบ่งออกเป็น 7 เลเยอร์ ดังรูปที่ 1.1 แต่ละเลเยอร์นั้นจะประกอบกันเป็นพื้นฐานเพื่อเป็นแนวความคิดในการออกแบบระบบ และการนำระบบไปใช้งาน ซึ่ง OSI model จะอธิบายกระบวนการติดต่อสื่อสารตามลำดับชั้นของแต่ละเลเยอร์ และแต่ละเลเยอร์ จะกำหนดการติดต่อกับเลเยอร์ที่ติดกัน ซึ่งการติดต่อเหล่านั้นมีความยืดหยุ่นพอที่จะให้ผู้ออกแบบระบบใช้โปรโตคอลได้หลายแบบโดยที่ระบบยังอยู่ในมาตรฐาน จึงทำให้คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่มีการออกแบบทาง hardware และ software ตามโครงสร้างมาตรฐานนี้สามารถต่อเป็นเครือข่ายร่วมกัน และติดต่อสื่อสารกันได้
    1.3.2.1 หลักเกณฑ์ที่ใช้แบ่งเลเยอร์ใน OSI
                   จุดมุ่งหมายของการกำหนดมาตรฐานรูปแบบ OSI ขึ้นมานั้นก็เพื่อเป็นการกำหนดการแบ่งโครงสร้าง ของสถาปัตยกรรมเครือข่ายออกเป็น เลเยอร์ ๆ และกำหนดหน้าที่การทำงานในแต่ละเลเยอร์ รวมถึงกำหนด รูปแบบการอินเตอร์เฟสของเลเยอร์ด้วย เหตุผลที่ต้องแบ่งเลเยอร์ทั้งหมดให้มี 7 เลเยอร์นั้น องค์การ ISO ได้ใช้หลักเกณฑ์ดังนี้
                       1. ไม่แบ่งโครงสร้างออกเป็นเลเยอร์ๆ มากจนเกินไป
                       2. แต่ละเลเยอร์จะต้องมีหน้าที่การทำงานแตกต่างกันทั้งขบวนการและเทคโนโลยี
                       3. จัดกลุ่มหน้าที่การทำงานที่คล้ายกันให้อยู่ในเลเยอร์เดียวกัน
                       4. เลือกเฉพาะส่วนการทำงานที่เคยใช้ได้ผลประสบความสำเร็จมาแล้ว
                       5. กำหนดหน้าที่การทำงานเฉพาะง่ายๆ แก่เลเยอร์ เผื่อว่าต่อไปถ้ามีการออกแบบเลเยอร์ใหม่ หรือมีการเปลี่ยนแปลง โปรโตคอลใหม่ในอันที่จะทำให้ สถาปัตยกรรมมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น จะไม่มีผลทำให้อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ และ ซอฟต์แวร์ ที่เคยใช้ได้ผลอยู่เดิมจะต้องเปลี่ยนแปลงตาม
                       6. กำหนดอินเตอร์เฟสมาตรฐาน
                       7. ให้มีความยืดหยุ่นในการเปลี่ยนแปลงโปรโตคอลในแต่ละเลเยอร์
                       8. สำหรับเลเยอร์ย่อยของแต่ละเลเยอร์ให้ใช้หลักเกณฑ์เดียวกันกับที่กล่าวมาใน 7 ข้อแรก

เทคโนโลยีสารสนเทศ4




ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการสื่อสาร




ปัจจุบันการสื่อสาร (Communication) ถือเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินชีวิตประจำวันของมนุษย์ในสังคม ดังจะเห็นได้ว่าทุกยุคทุกสมัย มนุษย์มักใช้การสื่อสารเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ และเพื่อการอยู่ร่วมกันในสังคมกับผู้อื่น เพราะการสื่อสารเปรียบเสมือนเครื่องมือที่ทำหน้าที่ในการถ่ายทอดความรู้ ความคิด อารมณ์ และความรู้สึกของคนๆ หนึ่งไปยังคนอีกคนหนึ่ง เพื่อให้เกิดความเข้าใจร่วมกัน ดังการให้นิยามความความหมายของการสื่อสารไว้มากมายดังนี้

ความหมายของการสื่อสาร
            การสื่อสาร (Communication) มีรากศัพท์มาจากภาษาละติน Communicate ตรงกับภาษาอังกฤษว่า Communicate ซึ่งแปลตามตัวอักษรว่า Make Common หมายถึง ทำให้มีสภาพร่วมกัน ซึ่งเป็นความหมายที่ตรงกับธรรมชาติของการสื่อสาร คือ การทำให้เกิดความเข้าใจร่วมกัน ตรงกัน กล่าวคือ มนุษย์มีการสื่อสารซึ่งกันและกันก็เพื่อเข้าใจให้ตรงกันนั้นเอง ดังนั้นการนิยามความหมายคำว่า การสื่อสารจึงเป็นการนิยามที่ตั้งอยู่บนรากฐานของรากศัพท์เดิม คือ ความเข้าใจร่วมกัน (สมควร  กวียะ บ...2)
            พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ..2525 (2530, .825) ให้ความหมายไว้ว่า การสื่อสารหมายถึง การนำหนังสือข้อความของฝ่ายหนึ่งส่งให้อีกฝ่ายหนึ่ง นอกจากนี้ยังมีผู้ให้ความหมายของการสื่อสารไว้อีกหลายคน ดังนี้ จอร์จ เกิร์บเนอร์ (George Gerbner) กล่าวว่า การสื่อสารคือ การแสดงปฏิสัมพันธ์ทางสังคม (Social interaction) ด้วยการใช้สัญลักษณ์และระบบสาร (message system) หรือ เบเรลสันและสตายเนอร์ (Berelson & Steiner) นิยามการสื่อสารว่าเป็น พฤติกรรม” (act) หรือกระบวนการถ่ายทอดข้อมูล ข่าวสาร ความคิด อารมณ์ ความรู้สึก ทักษะ ฯลฯ โดยการใช้สัญลักษณ์ ซึ่งอาจเป็นคำพูด หนังสือ ภาพ ตัวเลข กราฟ ฯลฯ (พัชนี  เชยจรรยา, 2538, .3)
            ชาร์ล อี ออสกูด (Charles E.Osgood) ให้คำนิยามการสื่อสารว่า โดยความหมายอย่างกว้าง การสื่อสารเกิดขึ้นเมื่อระบบหนึ่งซึ่งเป็นแหล่งสารมีอิทธิพลเหนืออีกระบบหนึ่ง ซึ่งเป็นจุดหมายปลายทาง โดยอาศัยวิธีการควบคุมสัญญาณต่างๆ ที่สามารถส่งออกไปตามสื่อ (Charles E.Osgood, A Vocabulary for Talking about Communication)
            คล็อด แชนนอน และวอร์แรน วีเวอร์ (Claude Shanon and Warren Weaver) กล่าวถึงการสื่อสารว่า คำว่าการสื่อสาสร ในที่นี้มีความหมายกว้างคลุมไปถึงวิธีการทั้งหมดที่ทำให้จิตใจของบุคคลหนึ่งกระทบจิตใจของอีกคนหนึ่งมีผลกระทบจิตใจของอีกคนหนึ่ง การปฏิบัติได้รวมไปถึงพฤติกรรมทั้งหลายของมนุษย์ ได้แก่ การเขียน การพูด ดนตรี ศิลปรูปภาพ การละคร ระบำ ในบางกรณี อาจใช้นิยามการสื่อสารที่กว้างกว่านี้ก็ได้ โดยการสื่อสาร หมายถึง การปฏิบัติทั้งหลายเพื่อให้กลไกลอย่างหนึ่ง (เช่น เครื่องมืออัตโนมัติสามารถบอกตำแหน่งเครื่องบินและสามารถคำนาณบอกตำแหน่งของเครื่องบินในเวลาอนาคตได้) ทำให้เกิดผลกระทบกระเทือนต่อกลไกอีกอย่างหนึ่งได้ (เช่น จรวดนำวิถี ขับไล่เครื่องบิน) (ยุพา  สุภากุล, 2540, .4X
            วิลเบอร์ ชแรม์ม (Wibur Schramm) กล่าวว่าการสื่อสารเป็นการแลกเปลี่ยนสัญญาณข่าวสารระหว่างบุคคล….ซึ่งอยู่บนพื้นฐานของความสัมพันธ์ของมนุษย์ (Wibur Schramm and Donald F.Roberts, 1971 : p13)
            พัชนี เชยจรรยา และคณะได้สรุปความหมาย นิยาม ของการสื่อสารไว้กว้างๆ ดังนี้
            1. การสื่อสารเป็นพฤติกรรม (act) หรือกระบวนการ (process)
            นักวิชาการบางกลุ่มนิยามการสื่อสารเป็นเพียงพฤติกรรมหนึ่งๆ ที่สามารถสื่อความหมายหรือมีอิทธิพลเหนือบุคคลอื่น ขณะที่บางกลุ่มมองว่าการสื่อสารเป็นกระบวนการถ่ายทอดสาร (message) จากผู้หนึ่งไปยังอีกผู้หนึ่ง
            2. การสื่อสารจะต้องกระทำขึ้นอย่างตั้งใจหรือไม่
            นักวิชาการบางท่าน เช่น มิลเลอร์ (Miller) กล่าวว่า การศึกษาเกี่ยวกับระบบการสื่อสารอย่างถูกต้องเหมาะสมนั้น ควรมุ่งสนใจเฉพาะสถานการณ์สื่อสารซึ่งผู้ส่งสาร (sender) มีเจตจำนง (conscious intent) ที่จะถ่ายทอดสารให้มีผลต่อพฤติกรรมของผู้รับสารในทางหนึ่งทางใดฉะนั้น การที่คนหนึ่งเดินใจลอยจึงไม่ใช่การสื่อสาร แม้ว่าผู้พบเห็นสามารถตีความหมายหรือรู้สึกอะไรบางอย่างต่อการแสดงออกนั้น ซึ่งสอดคล้องกับหลักทางพุทธศาสนาว่าสื่อสารใดที่เกิดโดยไม่ตั้งใจ เรียกว่า อุบัติเหตุหรือเป็นเพียงปรากฏการณ์หนึ่งเท่านั้น
            3. การสื่อสารกระทำโดยผ่านภาษา (language) อย่างเดียวหรือไม่
            คำนิยามส่วนมากที่พบทางนิเทศศาสตร์เน้นการสื่อสารของมนุษย์ซึ่งอาศัยภาษาไม่ว่าจะเป็นภาษาพูดหรือภาษาเขียนที่เรียกว่า วัจนภาษา (verbal language) หรือภาษาที่ไม่เป็นถ้อยคำหรือหนังสือ แต่เป็นสิ่งอื่นๆ ซึ่งสามารถแสดงความหมายได้ เช่น การแสดงกิริยาท่าทาง สีหน้า น้ำเสียง ฯลฯ ซึ่งเรียกว่า อวัจนภาษา” (nonverbal  language) ขณะที่มีนักวิชาการบางกลุ่ม เช่น วอร์เรน ดับบลิว วีเวอร์ (Warren W.Weaver) รวมเอาดนตรี ภาพ การแสดง และวัตถุสิ่งของอื่นๆ ที่สามารถใช้เป็นสัญลักษณ์เข้าไว้ในนิยามของการสื่อสารด้วย



เทคโนโลยีสารสนเทศ 3



เอกสารประกอบการเรียนวิชา เทคโนโลยีการศึกษา     รหัสวิชา 1032101
แนวโน้มของเทคโนโลยีการศึกษา
ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการจัดการศึกษาและการเรียนรู้ของมนุษย์เป็นอย่างมาก การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเป็นผลสืบเนื่องมาจากศักยภาพของเทคโนโลยีสารสนเทศในการขจัดข้อจำกัดของกาลเวลา และระยะทาง ส่งผลให้การแลกเปลี่ยนข่าวสารข้อมูลเกิดได้ในทุกเวลา และทุกสถานที่ ซึ่งจากวิวัฒนาการนี้เองได้ก่อให้เกิดรูปแบบการจัดการศึกษาแบบใหม่ที่มีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เป็นเครือข่ายสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา
เทคโนโลยีที่ใช้ในโครงการเครือข่ายสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา
เทคโนโลยีที่ใช้ในโครงการนี้ เป็นการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ โทรคมนาคมและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ซึ่งจัดเป็นระบบการเรียนการสอนทางไกลแบบสองทาง
เทคโนโลยีโทรประชุมทางไกล (Video Conference) ซึ่งเป็นเทคนิคใหม่ที่ใช้ในการสื่อสารระยะไกล เป็นการผสมผสานของสัญญาณภาพ สัญญาณเสียงและข้อมูลผนวกกับเทคโนโลยีของเครือข่ายและการสื่อสารเพื่อสนองตอบต่อความต้องการของมนุษย์ที่สามารถโต้ตอบกันแบบ Real-time ระหว่างกลุ่ม 2 กลุ่มหรือมากกว่าซึ่งอยู่ห่างไกลกัน
โดยสรุปแล้วระบบโทรประชุมทางไกล หมายถึง การประชุมทางไกลผ่านจอภาพ เป็นบริการที่ให้ทั้งภาพและเสียงในเวลาเดียวกัน โยผู้ใช้ทั้งต้นทางและปลายทางจะต้องติดตั้งอุปกรณ์ ซึ่งประกอบด้วย กล้องถ่ายภาพ จอภาพ อุปกรณ์แปลงสัญญาณ และชุดควบคุมการประชุมระหว่างจุดสองสุด จะต้องใช้อุปกรณ์สองชุดเชื่อมต่อกัน ส่วนการประชุมพร้อม ๆ กันนั้นจะต้องใช้อุปกรณ์ Teleconference เท่าจำนวนจุดที่ต้องการประชุมและจะต้องใช้อุปกรณ์ควบคุมหลายจุด (Multi-Point Control Unit : MCU) ช่วยการตัดภาพระหว่างจุดแต่ละจุด อุปกรณ์นี้สามารถเชื่อมสัญญาณเข้าด้วยกันได้ โดยทำหน้าที่เป็นทั้งเครื่องรับและเครื่องส่งภายในเครื่องเดียวกัน ส่งสัญญาณผ่านเคเบิ้ลใยแก้วนำแสงหรือผ่านระบบโครงข่าย ISDN
นอกจากนี้จากการที่ได้มีโอกาสไปศึกษาดูงาน ชิน ฟันแฟร์ (Shin Fun Fair) ทำให้ได้ทราบถึงเทคโนโลยีที่เกี่ยวกับการเรียนการสอนยุคใหม่คือ เครือข่ายศูนย์การเรียนทางไกลผ่านดาวเทียม(Distance Learning via Satellite) ดำเนินงานโดย บริษัท ชิน บรอดแบรนด์ อินเตอร์เน็ต (ประเทศไทยจำกัด) นำเสนอเทคโนโลยีล่าสุดของการเรียนการสอนยุคใหม่เป็นครั้งแรกใน ประเทศไทย โดยใช้โครงการเทคโนโลยีบรอดแบรนด์ Ipstar หรือ Internet ความเร็วสูงผ่านดาวเทียม แบบ 2 ทาง (Interactive) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอนทั้งภาพ เสียง และข้อมูล โดยเปิดโอกาสให้มีการโต้ตอบระหว่างผู้สอนจากศูนย์ iLearn ในกรุงเทพมหานคร และผู้เรียนที่อยู่ ณ ศูนย์ iLearn ในต่างจังหวัดเสมือนเรียนอยู่ในห้องเดียวกัน
โดยศูนย์การเรียนการสอน I Learn ในจังหวัดต่างๆ ส่งผ่านข้อมูลผ่านทาง IPStar Gatewey แล้วผ่านไปยัง Fiber Opic แล้วส่งต่อไปยังสถานีแม่ข่ายเพื่อออกอากาศหลักสูตรการสอน และการอบรม (แหล่งที่มา www.ilearn.in.th)
ยิ่งไปกว่านั้นหากมองในอีกแง่มุมหนึ่งของการศึกษาทางไกลนอกเหนือจากการศึกษาทางไกลผ่านทางเทคโนโลยีโทรประชุมทางไกล (Video Conference) การศึกษาทางไกลผ่านทางดาวเทียม การศึกษาทางไกลผ่านทางสื่อสิ่งพิมพ์ วิทยุ และโทรทัศน์ ดังที่ได้กล่าวถึงรายละเอียดต่าง ๆ ไว้ในตอนต้นแล้ว การศึกษาทางไกลอีกรูปแบบหนึ่งที่เป็นระบบการเรียนทางไกลผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ที่นิยมเรียกกันว่า  E-Learning หรือ Electronic Learning ก็เป็นส่วนสำคัญและมีคุณค่ายิ่งต่อการจัดการศึกษาของไทยให้มีประสิทธิภาพ และเป็นไปอย่างทั่วถึงทุกคน ซึ่งเนื้อหาในส่วนต่อไปจะกล่าวถึงสาระที่สำคัญของ E – Learning ดังต่อไปนี้
E-Learning หรือ Electronic Learning หมายถึง รูปแบบการเรียนการสอนแบบใหม่ ที่มี การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสื่ออิเล็กทรอนิกส์สมัยใหม่ มีวัตถุประสงค์ที่เอื้ออำนวยให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้องค์ความรู้ (knowledge) ได้โดยไม่จำกัดเวลาและสถานที่  (Anywhere-Anytime Learning)  เพื่อให้ระบบการเรียนการสอนเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น   และเพื่อให้ผู้เรียนสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ของกระบวนวิชาที่เรียนนั้น ๆ
รูปแบบการเรียนการสอน
1. การเรียนการสอนทางไกล (Distance Education) เป็นการเรียนการสอนที่ประยุกต์เทคโนโลยีหลาย ๆ อย่าง เช่น ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ การประชุมทางไกลชนิดภาพและเสียง รวมถึงเอกสารต่าง ๆ เพื่อเข้าถึงผู้เรียนที่อยู่ห่างไกล
2. แบบมหาวิทยาลัยออนไลน์ เรียกว่า Online University หรือ Virtual University เป็นระบบการเรียนการสอนที่อยู่บนเครือข่ายในรูปเว็บเพจ มีการสร้างกระดานถาม-ตอบ อิเล็กทรอนิกส์ (Web Board)
3. การเรียนการสอนผ่านทางอินเตอร์เน็ตและเว็บเพจ (Online Learning, Internet Web Base Education) เป็นการนำเสนอเนื้อหาและการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนและผู้สอนโดยเน้นสื่อประสมหลาย ๆ อย่างเข้าด้วยกัน มีการสร้างสภาวะแวดล้อมที่ประสานงานกัน ให้ผู้เรียนและผู้สอนเข้าถึงฐานข้อมูลหลายชนิดได้ โดยผู้เรียนต้องควบคุมจังหวะการเรียนรู้ด้วยตนเองให้เป็น และเลือกเวลา สถานที่ในการเรียนรู้
4. โครงข่ายการเรียนการสอนแบบอะซิงโครนัส (Asynchronous Learning Network : ALN) เป็นการเสียนการสอนที่ต้องการติดตามผลระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน โดยใช้การทดสอบบทเรียน เป็นตัวโต้ตอบ
ลักษณะของการสร้างผลิตภัณฑ์ที่เป็นเนื้อหาสำหรับการเรียนการสอนผ่าน E-Learning ประกอบด้วย
E-Book การสร้างหนังสือหรือเอกสารในรูปแบบสิ่งพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ เพื่อใช้ประโยชน์กับระบบการเรียนการสอนบนเครือข่าย
Virtual Lab การสร้างห้องปฏิบัติการจำลองที่ผู้เรียนสามารถเข้ามาทำการทดลอง การทดลองอาจใช้วิธีการทาง simulation หรืออาจให้นักเรียนทดลองจริงตามคำแนะนำที่ให้
Video และการกระจายแบบ Real/audio/video เป็นการสร้างเนื้อหาในรูปแบบวีดีโอ หรือบันทึกเป็นเสียงเพื่อเรียกผ่านทางเครือข่ายคอมพิวเตอร์
Virtual Classroom เป็นการสร้างห้องเรียนจำลองโดยใช้กระดานข่าวบนอินเตอร์เน็ตกระดานคุยหรือแม้แต่จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อประโยชน์การเรียนรู้ผ่านเครือข่าย
Web base training การสร้างโฮมเพจหรือเว็บเพจเพื่อประโยชน์การเรียนการสอน
E-library การสร้างห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ที่ให้บริการบนเครือข่ายได้
ขณะนี้มีหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งในและต่างประเทศที่ให้ความสนใจกับ E-Learning ทั้งที่มีการพัฒนาแล้วและกำลังพัฒนา เช่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ภายใต้ชื่อ http ://www.chulaonline.com และมหาวิทยาลัยรามคำแหง ภายใต้ชื่อโครงการ http ://www.ru.ac.th/learn โดยมีวัตถุประสงค์ในการใช้ระบบ E-Learning มาเสริมประสิทธิภาพให้กับระบบการเรียนทางไกลที่มีอยู่ในปัจจุบัน และในต่างประเทศได้มีการพัฒนา E-Learning มาพอสมควรแล้ว เช่น Australia Department of Education , Training and Youth Affairs ภายใต้ชื่อhttp://www.detya.gov.au/ เช่นกัน
สรุปได้ว่าการเรียนรู้โดยผ่านเทคโนโลยีการศึกษาเพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์นั้น เป็นสิ่งที่มีความจำเป็นอย่างมากสำหรับโลกยุคปัจจุบัน และ หลักของ E-Learning ก็คือ ระบบการเรียนทางไกลผ่านอินเตอร์เน็ตที่มีประสิทธิภาพสูง สามารถเผยแพร่ข้อมูลได้อย่างกว้างขวาง ดังนั้น E-Learning จึงเป็นเทคโนโลยีหนึ่งที่ช่วยพัฒนาแต่ละประเทศให้สามารถเข้าสู่สังคมยุค IT ได้อย่างมีประสิทธิภาพนอกจากนี้ เพื่อการศึกษาในหลากหลายรูปแบบ E-Learning จึงถูกนำมาใช้ในการเรียนการสอนมากยิ่งขึ้นเรื่อย ทั้งนี้ก็เพื่อจะเป็นการเตรียมความพร้อม ทรัพยากรมนุษย์ ให้พร้อมที่จะเข้าปรับตัวให้ทันต่อโลกยุคไร้พรมแดน และโลกในยุคต่อ ๆ ไปที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงวิถีการดำลงชีวิตของสังคมมนุษย์ทั้งในปัจจุบันและในอนาคต

เทคโนโลยีสารสนเทศ 2






------>.....ระบบจัดการฐานข้อมูล.....<------




มีส่วนประกอบที่สำคัญ 3 ส่วนได้แก่
1. ภาษาคำนิยามของข้อมูล [Data Definition Language (DDL)] ในส่วนนี้จะกล่าวถึงส่วนประกอบของระบบการจัดการฐานข้อมูลว่าข้อมูลแต่ละส่วนประกอบด้วยอะไรบ้าง (Data element) ในฐานข้อมูลซึ่งเป็นภาษาทางการที่นักเขียนโปรแกรมใช้ในการสร้างเนื้อหาข้อมูลและโครงสร้างข้อมูลก่อนที่ข้อมูลดังกล่าวจะถูกแปลงเป็นแบบฟอร์มที่สต้องการของโปรแกรมประยุกต์หรือในส่วนของ DDL จะประกอบด้วยคำสั่งที่ใช้ในการกำหนดโครงสร้างข้อมูลว่ามีคอลัมน์อะไร แต่ละคอลัมน์เก็บข้อมูลประเภทใด รวมถึงการเพิ่มคอลัมน์ การกำหนดดัชนี เป็นต้น
2. ภาษาการจัดการฐานข้อมูล (Data Manipulation Language (DML) เป็นภาษาเฉพาะที่ใช้ในการจัดการระบบฐานข้อมูล ซึ่งอาจจะเป็นการเชื่อมโปรแกรมภาษาในยุคที่สามและยุคที่สี่เข้าด้วยกันเพื่อจัดการข้อมูลในฐานข้อมูล ภาษานี้มักจะประกอบด้วยคำ สิ่งที่อนุญาตให้ผู้ใช้สามารถสร้างโปรแกรมพิเศษขึ้นมา รวมถึงข้อมูลต่างๆ ในปัจจุบันที่นิยมใช้ ได้แก่ ภาษา SQL(Structure Query Language) แต่ถ้าหากเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ DBMS มักจะสร้างด้วยภาษาโคบอล (COBOL language) ภาษาฟอร์แทน (FORTRAN) และภาษาอื่นในยุคที่สาม
3. พจนานุกรมข้อมูล (Data Dictionary) เป็นเครื่องมือสำหรับการเก็บและการจัดข้อมูลสำหรับการบำรุงรักษาในฐานข้อมูล โดยพจนานุกรมจะมีการกำหนดชื่อของสิ่งต่างๆ (Entity) และระบุไว้ในโปรแกรมฐานข้อมูล เช่น ชื่อของฟิลด์ ชื่อของโปรแกรมที่ใช้รายละเอียดของข้อมูล ผู้มีสิทธิ์ใช้และผู้ที่รับผิดชอบ
แสดงส่วนประกอบของระบบจัดการฐานข้อมูล (Elements of a database management systems) ข้อดีและข้อเสียของระบบการจัดการฐานข้อมูล
ระบบการจัดการฐานข้อมูลจะมีทั้งข้อดีและข้อเสียในการที่องค์การจะนำระบบนี้มาใช้กับหน่วยงาของตนโดยเฉพาะหน่วยงานที่เคยใช้คอมพิวเตอร์แล้วแต่ได้จัดแฟ้มแบบดั้งเดิม (Convention File) การที่จะแปลงระบบเดิมให้เป็นระบบใหม่จะทำได้ยากและไม่สมบูรณ์ ไม่คุ้มกับการลงทุน




วันจันทร์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

เทคโนโลยีสารสนเทศ 1

ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ


     เทคโนโลยีสารสนเทศ (information technology) หรือที่เรียกว่า ไอที มีผู้ให้คำนิยามไว้อย่างหลากหลาย เช่น หมายถึง ความรู้ในผลิตภัณฑ์หรือในกระบวนการดำเนินงานใด ๆ ที่อาศัยเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์ซอฟแวร์ คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ การติดต่อสื่อสาร การบริหาร และการดำเนินงาน รวมทั้งเพื่อการศึกษาและการเรียนรู้ ซึ่งจะส่งผลต่อความได้เปรียบทางด้านเศรษฐกิจการค้า และการพัฒนาด้านคุณภาพชีวิต และคุณภาพของประชาชนในสังคม (ฤทัยชนนี สิทธิชัย, 2540, หน้า 8)


     เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง แนวความคิด ระบบ วิธี เครื่องมือเครื่องใช้ในการจัดเก็บประมวลผล ค้นคืน และเผยแพร่สารสนเทศ ได้แก่ คอมพิวเตอร์ ระบบสื่อสารข้อมูล และโทรคมนาคม รวมทั้ง การประยุกต์ใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์สารสนเทศเหล่านั้นในงานสารสนเทศ หรืองานบริการด้านอื่น ๆ ซึ่งอาจแบ่งออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ (ดวงพร เจียมอัมพร, 2541, หน้า 15-17)
1. เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ (computer technology) หมายถึง เทคโนโลยีที่เกี่ยวกับการเปิดใช้บริการคอมพิวเตอร์ทั้งในไมโครคอมพิวเตอร์ มินิคอมพิวเตอร์ และเวิร์คสเตชั่น ในการรับข้อมูล การเก็บรวบรวมข้อมูล การบันทึกข้อมูลจากภายนอกและมีการแปลงเป็นสารสนเทศโดยผ่าน input devices ต่าง ๆ ได้แก่ แป้นพิมพ์ (keyboard) สแกนเนอร์ (scanner) เป็นต้น


2. เทคโนโลยีทางด้านการสื่อสารคมนาคม (telecommunication technology) ได้แก่ โทรศัพท์ธรรมดา โทรศัพท์เคลื่อนที่ดิจิตอล (digital mobile telephone) วิทยุติดตามตัว (pager) เป็นต้น


3. เทคโนโลยีระบบสื่อสาร (communication system technology) หมายถึงระบบการสื่อสาร และเครือข่ายที่เป็นส่วนเชื่อมในการแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็คทรอนิคส์ในรูปแบบข้อมูลดิจิตอล เช่นเครือข่ายโทรศัพท์ดิจิตอล ระบบสื่อสารเคเบิลใยแก้ว (fiber optic system) รวมถึง เครือข่ายคอมพิวเตอร์ระบบ WAN (wide area network) เช่น เครือข่าย Internet เป็นต้น


     ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปกันว่า เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือที่ทรงประสิทธิภาพในการพัฒนาประเทศ เป็นปัจจัยที่สำคัญที่ช่วยส่งเสริมสร้างความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจ สังคม ตลอดจนคุณภาพชีวิตของประชาชน ทั้งนี้เพราะเทคโนโลยีสารสนเทศจะช่วยทำให้มนุษย์สามารถมองเห็นโลกที่อยู่รอบตัวได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูล และทำให้มนุษย์เข้าใจในข้อมูลเหล่านั้น จึงช่วยส่งผลให้มนุษย์สามารถสร้างสรรค์วิธีในการแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นได้ รวมถึงสามารถจัดการและควบคุมชีวิตสภาพแวดล้อมและงานของตัวเอง หรือแม้แต่สังคมและเศรษฐกิจของโลกได้


     เทคโนโลยีสารสนเทศในประเทศไทยนั้น กล่าวได้ว่า ในปัจจุบันประเทศไทยเองก็ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญและศักยภาพของเทคโนโลยีสารสนเทศมากขึ้น มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้เป็นกุญแจไปสู่การพัฒนาในด้านต่าง ๆ เช่น การศึกษา สาธารณสุข สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ ตลอดจนการบริหารงานของรัฐ ดังตัวอย่างต่อไปนี้ (ธนัสถ์ เกษมไชยานันท์, 2544, หน้า 13-15)


ด้านการศึกษา
1. การเปิดใช้บริงานคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer-Aided Instruction--CAI) เป็นการเปิดใช้งานคอมพิวเตอร์เป็นสื่อในการสอนและเรียนรู้
2. การสอนทางไกลผ่านดาวเทียม ซึ่งช่วยยกระดับการศึกษาของพลเมือง โดยการกระจายความรู้ไปยังชนบทที่ห่างไกล ทำให้ประชาชนในชนบทได้รับความรู้มากขึ้นกว่าเดิม
3. การสอนทางไกลระบบ video teleconference เป็นการเรียนการสอนโดยใช้วิธีการสื่อสารสองทาง ผู้สอนและผู้เรียนอยู่ห่างไกลกันแต่สามารถถามตอบกันได้ทันที
4. การจัดทำสารานุกรม หนังสือหรือฐานข้อมูลทางการศึกษา โดยใช้มัลติมีเดียหรือสือประสมที่สามารถแสดงได้ทั้งภาพ ภาพเคลื่อนไหว เสียงและข้อมูล
5. การนำเทคโนโลยีฐานข้อมูลมาใช้ในงานห้องสมุดหรือศูนย์ข้อมูล เพื่อเก็บข้อมูลเกี่ยวกับเอกสาร บทความ รายงาน หนังสือ ฯลฯ ซึ่งช่วยอำนวยความสะดวกในการค้นหาข้อมูลต่าง ๆ


ด้านการสาธารณสุข
1. เกิดทางหลวงสารสนเทศด้านการแพทย์และสาธารณสุข (health information highway) ซึ่งเป็นเส้นทางติดต่อของบุคคล ข้อมูล ฐานข้อมูล และกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับแพทย์และสาธารณสุข ดังนั้น ผู้ป่วยจะสามารถใช้คอมพิวเตอร์เพื่อติดต่อไปยังแพทย์เพื่อสอบถามหรือขอคำปรึกษา สอบถามข้อมูลเกี่ยวกับยา บริษัทผู้ผลิตยาหรือบริษัทประกันสุขภาพได้ทันที
2. การติดตั้งระบบโทรเวชหรือการแพทย์ทางไกลผ่านดาวเทียม (telemedicine) ซึ่งช่วยให้นายแพทย์ในชนบทสามารถขอความเห็นจากผู้เชี่ยวชาญที่อยู่ในกรุงเทพมหานคร หรือในศูนย์ให้คำปรึกษาอื่น ๆ สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลของคนไข้ระหว่างกันและกันทั้งทางด้านภาพ เช่น X-Ray และเสียงสัญญาณต่าง ๆ ที่เกิดจากเครื่องมือทางการแพทย์ รวมไปถึงการประชุมปรึกษาหารือกันโดยไม่ต้องเดินทางไกล ซึ่งนับเป็นการเปิดใช้บริการเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างเต็มรูปแบบ คือ ทั้งเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีการโทรคมนาคม
3. การนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในโรงพยาบาล เพื่อบันทึกข้อมูลผู้ป่วย ดำเนินการตรวจรักษา จ่ายยา และคิดเงินค่ารักษาพยาบาล


ด้านสิ่งแวดล้อม
     เทคโนโลยีสารสนเทศจะช่วยในด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้น เช่นการเปิดใช้บริการระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ (geographic information system) ของกระทรวง วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม เป็นระบบฐานข้อมูลทรัพยากรธรรมชาติสำหรับการวางแผนด้านสิ่งแวดล้อมในระดับนโยบาย


ด้านเศรษฐกิจ
1. ด้านการผลิต โดยการเปิดใช้งานหุ่นยนต์ในการผลิต ใช้คอมพิวเตอร์ควบคุมเครื่องจักรและออกแบบผลิตภัณฑ์ ทำให้เกิดผลิตภัณฑ์แปลกใหม่และสวยงามมากขึ้น รวมทั้งมีคุณภาพและมาตรฐานที่ดีขึ้น
2. ด้านการเงิน โดยการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในงานธนาคาร ทำให้เกิดระบบออนไลน์ต่างสาขาและระบเงินด่วน หรือ ATM
3. ด้านธุรกิจ โดยการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในงานด้านสำนักงานอัตโนมัติงานบัญชี ซึ่งทำให้การดำเนินธุรกิจเป็นไปโดยสะดวกมากขึ้น จึงทำให้สามารถตัดสินใจในด้านที่เกี่ยวข้องกับการเงิน การขยายตัว หรือจำหน่ายผลิตภัณฑ์ได้อย่างถูกต้องและรวดเร็วมากขึ้น และส่งผลให้บริษัทที่รู้จักนำเทคโนโลยีสารสนเทศไปใช้เพิ่มกำไรมากขึ้น








พัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศ

             ในเอกสารการวิจัยของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ  กล่าวถึงคุณสมบัติของเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทำให้เกิดการแพร่กระจายของการใช้อุปกรณ์  เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน  ซึ่งประกอบด้วยคุณสมบัติต่างๆดังนี้
             -การรวมตัวกันของเทคโนโลยี(Convergence)  เทคดนโลยีสารสนเทศเป็นการรวมตัวกันของเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์  การสื่อสาร รวมถึงระบบเทคโนโลยีอื่นๆ เช่น การกระจายเสียงเข้าไว้ด้วยกัน  ทำให้สามารถรับส่งสัญญาณ โดยเฉพาะข้อมูลที่อยู่ในรูปของสื่อแบบผสม  ที่ประกอบด้วยภาพ เสียงและข้อความต่างๆได้อย่างรวดเร็ว สมบูรณ์และสามารถส่งได้ปริมาณมาก  การเผยแพร่ข้อมูลต่างๆทำได้อย่างทั่วถึงกันมากขึ้น  โดยเฉพาะการเผยแพร่ยุคไร้พรมแดน
             - ต้นทุนที่ถูกลง(Cost reduction) เทคโนโลยีมีคุณสมบัติทำให้ราคาและการเป็นเจ้าของ  อุปกรณ์เทคโนโลยีถูกลง ทั้งในส่วนของอัตราค่าบริการสื่อโทรคมนาคม เช่น  ค่าโทรศัพท์  ค่าบริการอินเทอร์เน็ต  ค่าเช่าสัญญาณเครือข่าย    รวมถึงราคาของเครื่องคอมพิวเตอร์   มีแน้มโน้มถูกลงเรื่อยๆ
             - การพัฒนาอุปกรณ์ที่เล็กลง(Miniaturization)  อุปกรณ์เทททททคโนโลยีสารสนเทศหลากหลายประเภท  รวมทั้งเครื่องคอมพิวเตอร์และโทรศัพท์ได้รับการพัฒนา  ให้มีขนาดเล็กลงกว่าแต่เดิมมาก  ด้วยวิวัฒนาการของไมโครชิพ  ทำให้สะดวกต่อการใช้งานมากยิ่งขึ้น
             - การประมวลผลที่ดีขึ้น(Processing  Power)  โดยอาศัยพัฒนาการของผู้ผลิตหน่วยประมวลผลกลางหรือพีซียูที่ทำงานเร็ซฃวขึ้นกว่าเดิม  รวมถึงการสร้างโปรแกรมเพื่อตอบสนองการทำงานของผู้ใช้ที่มีประสิทธืภาพดียิ่งขึ้น
             - การใช้งานทีง่าย(User  Friendliness)  การพัฒนาโปรแกรมในปัจจุบัน  มีการออกแบบส่วนประสานงานกับผู้ใช้เพื่อช่วยเหลือ  และสนับสนุนการทำงานให้ง่ายยิ่งขึ้น  โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับคนที่ไม่คุ้นเคยเรื่องเทคโนโลยีมากนัก  หรือที่เรียกว่า  user-friendliness  นั่นเอง
             - การเปลี่ยนอะตอมเป็นบิต(Bits versus  Atoms) ทิศทางของความนิยมและการกระจายของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างรวดเร็ว  ผ่านการใช้งานโดยเครือข่ายอินเทอร์เน็ต  นับได้ว่าเป็นตัวอย่างที่ชัดเจนของการหันเหกิจกรรมที่ใช้ "อะตอม" เช่นการส่งเอกสารที่เป็นกระดาษ  ไปสู่การใช้"บิต"มากยิ่งขึ้น  ปัจจุบันจะเห็นว่าหลายองค์กรปรับเปลี่ยนการใช้งาน  ที่มุ่งเน้นสู่สำนักงานแบบไร้กระดาษ(paperless  office) กันบ้างแล้ว
             - สื่อผสม(Multimidia)  เทคโนโลยีสารสนเทศสามารถเผยแพร่สารสนเทศ  ที่เป็นแบบสื่อผสมมากขึ้น  ประกอบด้วยสา(รสนเทศที่อยู่ในรูปแบบตัวอักษร  ภาพกราฟฟิก  เสียง ภาพนิ่ง รวมถึงภาพเคลื่อนไหวต่างๆเข้าด้วยกัน
             - เวลาและภูมิศาสตร์ (Time S Distance)  วิวัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศทำให้มนุษย์สามารถเอาชนะเงื่อนไขด้าน"เวลา" และ"ภูมิศาสตร์"ได้เป็นอย่างมาก เช่น  การประชุมทางไกล สำหรับองค์การที่มีขนาดใหญ่และมีสาขาอยู่ทั่วประเทศ  หากต้องการจัดประชุมโดยให้ผู้บริหารทุกสาขาเดินทางมายังสำนักงานใหญพร้อมกัน อาจทำได้ไม่สะดวกหรือจัดเวลาไม่ตรงกัน การประชุมแบบทางไกลสามารถเข้ามาช่วยแก้ปัญหานี้ได้  หรือการใช้รับสัญญาณดาวเทียม  เพื่อถ่ายทอดสัญญาณรายการเพื่อการศึกษาให้กับโรงเรียนชนบทที่ห่างไกล(tele-education) โดยที่นักเรียนไม่จำเป็นต้องเข้ามาแสวงความรุ้ในเมืองใหญ่  ก็สามารถได้แหล่งความรู้ที่เหมือนๆกัน  เป็นการลดปัญหาในเรื่องภูมิศาสตร์